วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ตุ๊กแกไทย 10

ตุ๊กแกไทย



    ไขปริศนา ทำไมตุ๊กแกห้อยหัว ??

                ภาพ ตุ๊กแกโชว์ท่าแปลก ห้อยหัว สองขาหลังเกาะหนึบ สองขาหน้าประกบกันคล้ายการพนมมือไหว้ ณ บ้านหลังหนึ่ง จากนั้น ไม่นาน ก็มีข่าวพบเจ้าสี่ขาเหนียวหนึบชนิดนี้อีกตัว ในบ้านอีกหลังหนึ่ง ปรากฏท่าแปลกคล้ายตัวแรก เรียกเสียงฮือฮาไปทั่วประเทศ

                ลักษณะดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นท่าธรรมดาที่มนุษย์อาจไม่ค่อยเห็นบ่อย หรือ เกี่ยวข้องกับเรื่องเหนือธรรมชาติอย่างไร ?!!

                จากกรณีข้างต้น นายธัญญา จั่นอาจ ผู้อำนวยการกองพิพิธภัณฑ์อ้างอิง และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์เลื้อยคลาน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวถึง ลักษณะสำคัญของตุ๊กแก ว่า เมื่อพลิกหงายท้องดูใต้เท้าตุ๊กแก จะเห็น แผ่นยึดเกาะที่นิ้วแต่ละนิ้ว ซึ่งแต่ละแผ่นประกอบด้วยขนเล็ก ๆ ขนาดระดับนาโนเมตร แผ่นหนึ่งมีขนราว 5 แสนเส้น ทั้งนี้ ขนแต่ละเส้นก็ยังมีส่วนแตกปลายออกเป็นเส้นย่อยอีก โดยส่วนปลายของเส้นขนที่แตกออกมา จะมีโครงสร้างเป็นรูป ถ้วยดูดพบได้ในสัตว์จำพวกแมลงปีกแข็ง แมลงวัน และแมงมุม เช่นกัน จำนวนของถ้วยดูดนี้ขึ้นอยู่กับขนาดตัวสัตว์ เช่น หากเป็นแมลงจะมีน้อย แต่มีมากที่สุดในกลุ่มของตุ๊กแก

                 ตุ๊กแกมีตาโต รูม่านตาเป็นรูปวงรี เมื่อขยายตัวจะกว้างกว่าปกติให้แสงผ่านไปยังจอม่านตา จึงหากินเวลากลางคืน หรือ มองเห็นในสภาพมีแสงเลือนรางได้ แต่ในขณะที่แสงสว่างจ้า ตุ๊กแกจะหรี่ตา ทำให้เห็นรูม่านตาคล้ายตาแมว ลักษณะเป็นเส้นซิกแซก สำหรับสีสัน จะมีลวดลายเฉพาะตัว ซึ่งความสดใส ความชัดเจน รวมถึงความซีดจาง สามารถปรับจากการเคลื่อนไหวเม็ดสีที่ผิวหนัง โดยเกี่ยวข้องกับอารมณ์ และสิ่งแวดล้อมด้วย

                 ทั้งนี้ ลักษณะทั่วไปของสัตว์เลื้อยคลานในเรื่องสีสันนั้น อาจบ่งบอกถึงอารมณ์ เช่น ในช่วงที่มีการผสมพันธุ์ สัตว์จะพยายามเปล่งประกายตัวเองให้สดใสที่สุด หรือ เมื่อแสดงตัวเป็นเจ้าของอาณาเขตในถิ่นอาศัย หรือ ดึงดูด แสดงตัวต่อเพศตรงข้าม แต่ในกรณีตุ๊กแก เนื่องจากหากินเวลากลางคืน ดังนั้น สีสันอาจไม่ใช่ประเด็น แต่ที่น่าสนใจคือ เสียงร้อง โดยตัวผู้จะร้องเสียงดัง เพื่อประกาศเขตแดน ซึ่งจะไม่รุกล้ำกันและกัน ดังนั้น ในบ้านหลังหนึ่งอาจมีตัวเมียหลายตัว แต่จะมีตัวผู้ซึ่งโตที่สุดเพียงตัวเดียว

                  ตุ๊กแก ตามป่าบางส่วนเข้ามาอยู่ในบ้านเรือนมนุษย์นานแล้ว เนื่องจากมีแสงไฟดึงดูดแมลง ตุ๊กแกจึงมีอาหาร โดยเฉพาะเรือนไทยที่มีเพดานใต้หลังคาสูง จึงเป็นแหล่งอาศัยได้ดี มีช่อง และหลืบให้วางไข่ โดยทั่วไปหากมนุษย์เข้าใกล้ ตุ๊กแกมักวิ่งหนี แต่หากเข้าไปจับอาจถูกกัดจนเลือดออก เนื่องจากมีฟันแหลมคม แต่ไม่นำเชื้อโรค ดังนั้น ปัญหาของตุ๊กแกบ้าน จะเป็นลักษณะสร้างความรำคาญจากเสียง และมูล ขณะ เดียวกัน ในระบบนิเวศ ตุ๊กแกเป็นผู้บริโภคลำดับที่สอง (Secondary Consumer) โดยกินแมลง เพราะฉะนั้น ประโยชน์ที่เห็น คือ การกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งทำให้เกิดสมดุลของธรรมชาติ


                      สำหรับกรณีข่าว ตุ๊กแกโชว์ท่าแปลก ห้อยหัว สองขาหลังเกาะหนึบ สองขาหน้าประกบกันคล้ายการพนมมือไหว้ ณ บ้านหลังหนึ่งนั้น นายธัญญา มองว่า เป็นความผิดพลาดในการเคลื่อนที่ของตุ๊กแก หรือ การเดินพลาด จากลักษณะที่ตุ๊กแกเดิน 4 ขา หากเป็นแนวดิ่งมักไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อเกาะเพดาน เวลาก้าว หากขาแรกเท้าหน้าหลุด น้ำหนัก และแรงโน้มถ่วงจะดึงให้ตัวตุ๊กแกห้อยลงมาได้ ดังนั้น จึงไม่ค่อยเห็นตุ๊กแกเดินตามเพดานมากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเดินในแนวดิ่ง

                      “ภาพที่เห็นน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนอิริยาบถแล้วขาหลุดลงไป แต่ขาหลังยังคงติดอยู่ เนื่องจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ขา ตุ๊กแกทั้ง 4 ซึ่งยึดติดกับเพดานนั้น จะรับน้ำหนักได้ถึง 133 กิโลกรัม เมื่อขาหลุดลงมาการที่จะกลับไปอยู่ตำแหน่งเดิมตุ๊กแกต้องใช้เวลาเกร็งกล้าม เนื้อขึ้นไป หรือ ไม่เช่นนั้นก็ปล่อยตัวให้ร่วงลงมาก่อน ซึ่งจิ้งจกหลายชนิดทำแบบนี้ (เนื่องจากบางตัวจะมีแผ่นหนังข้างลำตัวเหมือนปีก เมื่อร่วงลงมาจะร่อนไปอีกระยะหนึ่งแล้วเกาะใหม่ได้) ดังนั้น จึงพบตุ๊กแกร่วงจากเพดานบ่อยครั้ง

การอธิบายของผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน พอสรุปได้ว่า เหตุที่ตุ๊กแกห้อยหัวเหมือนเล่นกายกรรมบนคานเพดาน เป็นเรื่องธรรมชาติของตุ๊กแกที่คลานพลาด!!.

ตุ๊กแกไทย 9

ตุ๊กแกไทย


           การทำแผลให้ตุ๊กแก



1.ไปจับตุ๊กแกมาตรวจสุขภาพ ป้อนยา ชั่งน้ำหนักเพื่อเก็บข้อมูล


2.ใส่ถุงมือเวลาจับ ป้องกันโดนกัด


3. ป้อนยา


4. ให้สารน้ำตัวที่ป่วย


5. ใส่ปลอกคอทำสัญลักษณ์ตัวป่วย






ตุ๊กแกไทย 8

ตุ๊กแกไทย



        โรคที่เกิดกับตุ๊กแก


                               ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง





         ข้อควรระวัง
              1.  ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
              2.  การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
               3. ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

ตุ๊กแกไทย 7

ตุ๊กแกไทย



        การส่งออกตุ๊กแก

                           ชาว อ.นาหว้า จ.นครพนม เงินสะพัดเดือนละ 20-30 ล้านบาท หลังยึดอาชีพจับตุ๊กแกขายเวียดนามและจีน เพื่อนำไปปรุงยาโด๊ป ล่าสุด เตรียมขยายธุรกิจแปรรูปตุ๊กแกแบบครบวงจร... 

                           วันนี้ (25ก.ค.56) ที่ จังหวัดนครพนม ปัจจุบันอาชีพแปลกค้าตุ๊กแกส่งออก ไม่เพียงพบในเขตบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งเป็นแห่งเดียวของนครพนม ที่มีชาวบ้านประกอบอาชีพแปลก ซึ่งสามารถสร้างเงินหมุนเวียน ในพื้นที่ถึงเดือนละกว่า 20 -30 ล้านบาท มานานถึง 20 ปี เพียงแห่งเดียวแล้ว



                             ล่าสุดมีรายงานว่า ในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดนครพนม ประชาชนได้หันไปประกอบอาชีพจับตุ๊กแกส่งขายต่างประเทศ เพื่อนำไปปรุงเป็นยาโด๊ปชูกำลัง กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ตุ๊กแกออกมาผสมพันธุ์ ชาวบ้านจะมีรายได้ ตกครอบครัวละ 30,000-50,000 บาทต่อเดือน เพราะตุ๊กแกอบแห้ง จะมีราคาสูงถึงตัวละ 30-80 บาทตามขนาด   

ตุ๊กแกไทย 6

ตุ๊กแกไทย


       การดูแลรักษาตุ๊กแกในระยะเริ่มต้น

                             ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น




                              ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร 



ตุ๊กแกไทย 5

ตุ๊กแกไทย


              วิธีการเลี้ยงตุ๊กแก

                                 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป





การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก
พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4          ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20        เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                          จำนวน           20         ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                 จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด          จำนวน         2          ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร              จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                 จำนวน           5         คู่

ตุ๊กแกไทย 4

ตุ๊กแกไทย


        
        ตุ๊กแกเสือดาว


                    จัดเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่บริเวณทะเลทรายของประเทศอัฟกานิสถานปากีสถานและอินเดียตะวันตก เป็นต้น ความแตกต่างของตุ๊กแกเสือดาวเมื่อเปรียบเทียบกับตุ๊กแกชนิดอื่น ๆ ตรงที่ มีเปลือกตาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตามธรรมชาติ และเท้าที่เป็นเล็บแหลมสำหรับปีนป่ายซึ่งต่างจากตุ๊กแกชนิดอื่นที่ส่วนของ เท้าเป็นพังผืด มีหางที่อวบอ้วนซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยเก็บสารอาหารทำให้ทนต่อสภาพการขาด อาหารในบริเวณท้องที่ทุรกันดารได้เป็นอย่างดี


                      
                      ปัจจุบันตุ๊กแกเสือดาวได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกชนิดหนึ่งด้วย เสน่ห์ของสีสันและลวดลายบนลำตัว สามารถจับเล่นได้และมักจะเชื่องกับเจ้าของ โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายในสีและลวดลาย คุณรัฐกิจ จันทรสีมา ชาวบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์ในการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวมานานประมาณ 3 ปี และมีตุ๊กแกเสือดาวมากกว่า 10 สีและสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบ้านเรา คุณรัฐกิจได้บอกวิธีการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวควรจะเลี้ยงในตู้ปลาหรือกล่อง พลาสติก (ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลี้ยงในกล่องพลาสติกเพราะเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีน้ำหนักไม่มากและทำความสะอาดง่าย)




ตุ๊กแกไทย 3

ตุ๊กแกไทย


         ความเชื่อเกี่ยวกับตุ๊กแก

                             ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อยู่ในความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณ เช่น เชื่อว่าตุ๊กแกมักถูกงูเขียวเข้ามากินตับ โดยอ้าปากให้งูเข้าไปกินถึงในท้อง แท้ที่จริงแล้ว งูเขียวเมื่อหาอาหารไม่ได้จะบังคับให้ตุ๊กแกอ้าปากเพื่อเข้าไปกินเศษอาหารที่ติดตามซอกปากของตุ๊กแก



                                นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าเสียงร้องของตุ๊กแกยังเป็นการบอกถึงโชคลางของผู้ที่ได้ยินอีกด้วย ตามเวลาและจำนวนครั้งที่ต่างกัน เช่น 1 ครั้ง เชื่อกันว่า ผู้ได้ยินจะเสียเงินทองโดยไม่เต็มใจ แต่ถ้าได้ยินเสียงตุ๊กแกร้อง 3 ครั้ง เชื่อว่า คนในบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข พบกับความเจริญรุ่งเรือง หรือ ตุ๊กแกร้องตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาจนถึงเที่ยง เชื่อว่า จะได้รับข่าวดี เป็นต้น


ตุ๊กแกไทย 2

ตุ๊กแกไทย
                 การถูกทำเป็นยา

ราวกลางปี พ.ศ. 2553 ปรากฏเป็นข่าวฮือฮาทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ว่า มีพ่อค้าชาวจีนในมาเลเซียและสิงคโปร์ได้เหมาซื้อตุ๊กแกจากชาวไทยเพื่อจะนำไปทำเป็นยารักษาโรคเอดส์และมะเร็ง โดยให้ราคาที่สูงมากนับแสนบาท โดยคิดราคาตามน้ำหนักตัว และตัวที่มีน้ำหนักถึง 5 ขีด ให้สูงถึงตัวละ 10 ล้านบาท

ข่าวนี้ทำให้มีการตื่นตัวอย่างมากในการจับตุ๊กแกส่งขายและเพาะเลี้ยงกันตามบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเป็นเพียงการปั่นกระแสกันมากกว่า อีกทั้งผลพิสูจน์ทางการแพทย์ก็ยังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ แม้จะมีความเชื่ออยู่บ้างของชาวบ้านในบางพื้นที่ที่มีการรับประทานจิ้งจกและตุ๊กแกอยู่แล้วว่าเป็นยาบำรุงต่าง ๆ ก็ตาม

นอกจากนี้แล้วทางผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์เลื้อยคลานก็ระบุตรงกันว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยพบตุ๊กแกตัวไหนที่มีน้ำหนักถึง 4-5 ขีดตามที่เป็นข่าว อาจจะพบมีบางตัวบ้างที่หนักถึง 4 ขีด แต่ก็น้อยมาก จึงเชื่อว่าเป็นการปั่นกระแสกันมากกว่า นอกจากนี้แล้วผู้ที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ตุ๊กแกเพื่อการค้านี้ ก็พบว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ชอบกัดและกินกันเอง หากตัวไหนหางขาดก็จะขายไม่ได้ราคา อีกทั้งมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าจึงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน





วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตุ๊กแกไทย 1

                                              ตุ๊กแกไทย




     ประวัติตุ๊กแก

ตุ๊กแกบ้าน (อังกฤษ: Tokay, Gecko, Calling gecko) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ตุ๊กแก หรือต๊กโต ในภาษาเหนือ หรือ กั๊บแก ในภาษาอีสาน เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีสีสันที่หลากหลายมาก เช่น น้ำตาล เทา ดำ ฟ้าอ่อนและมีลายจุดสีส้มทั่วตัว สามารถปรับสีได้ตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย ดวงตามีสีเขียวขนาดใหญ่ไม่มีเปลือกตาปกปิด ขนาดความยาวของลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยราว 1 ขีด ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินแมลงเป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์ขนาดเล็กอย่างอื่นเป็นอาหารได้ด้วย เช่น ไข่นกหรือลูกนก, นกขนาดเล็ก,หนูหรือสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เป็นต้น

พบได้ทั่วไปในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง โดยเฉพาะภาคกลาง ตุ๊กแกจะอาศัยอยู่ทั้งในบริเวณพื้นที่ที่เป็นป่าและในบริเวณบ้านเรือนของมนุษย์ ชอบหลบอยู่ตามมุมมืดปราศจากการรบกวน ออกลูกเป็นไข่และมีนิสัยชอบร้องเสียง "ตุ๊กแก..ตุ๊กแก" ติดต่อกัน
ตีนของตุ๊กแกสามารถเกาะไต่ผนังได้อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากมี "เซต้า" ลักษณะเป็นขนมีมากว่า 1,000 เส้นบนฝ่าเท้าตุ๊กแก แต่ละเส้นที่บริเวณปลายแตกกิ่งก้านสาขาออกไปอีกมากกว่า 1,000 แฉก แต่ละแฉกมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 200 นาโนเมตร 
ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุ ชอบกัดกันเองและมีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันด้วย อาจถึงขั้นกัดอวัยวะเพศของเด็กชายขาดได้
ตุ๊กแกโดยทั่วไปเป็นที่รับรู้กันว่า เป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจเนื่องจากมีรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียด น่ากลัว ประกอบกับอุปนิสัยที่ดุร้าย แต่ก็มีผู้ที่นิยมชมชอบเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลายหรือสัตว์แปลก ๆ เลี้ยงตุ๊กแกเป็นสัตว์เลี้ยงก็มี